วงจรลัด (Short Circuit)


วงจรลัด (Short Circuit)

    วงจรลัด หมายถึง กระแสไฟฟ้าที่ไม่ได้ไหลผ่านโหลดหรือตัวต้านทาน เพราะเกิดการลัดวงจรขึ้นหรือเรียกว่า"ไฟช๊อต"
สาเหตุเกิดจากสายไฟชำรุดหรือเก่าเกินไป ฉนวนหุ้มสายไฟเปื่อย สายไฟทั้งสองเส้นแตะกัน นอกจากนี้แล้วสายไฟแรงสูง
ซึ่งเป็นสายเปลือย(สายไม่หุ้มฉนวน) อาจจะมีวัตถุซึ่งเป็นสื่อไฟฟ้าวางพาดระหว่างสายทั้งสองนั้น หรือการเดินวงจรไฟฟ้า
ผิดจะทำให้เกิดการลัดวงจรได้

การต่อวงจรไฟฟ้า

     ตามปกติวงจรไฟฟ้าใด ๆ จะมีความเปลี่ยนแปลงและคุณสมบัติต่อกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าแตกต่างกันไป ตามแต่ วิธีการต่อวงจรนั้น ๆ และตามการเปลี่ยนแปลงตัวต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้านั้นด้วย ซึ่งเรามีวิธีการต่อวงจรไฟฟ้าได้ 3
แบบ คือ  
     1. การต่อแบบอนุกรม (Series Circuit) 
     2. การต่อแบบขนาน (Parallel Circuit) 
     3. การต่อแบบผสม (Compound Circuit)

      การต่อแบบอนุกรม (Series Circuit)

      การต่อแบบอนุกรม การต่อแบบนี้คือการนำเอาอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือโหลด (Load) ต่าง ๆ มาต่อเรียงกันคำนวณให้
แรงเคลื่อน เท่ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แล้วนำเอาปลายทั้งสองไปต่อกับสายเมน ตามรูป เป็นการต่อแบบอนุกรม โดยใช้
ตัวต้านทาน 4 ตัวมาต่อเรียงกันได้จำนวนแรงเคลื่อนเท่ากับแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากสายเมน ปลายทั้งสองต่อเข้ากับสายเมน

                              

      การต่อแบบนี้ผลเสียก็คือ ถ้าหากว่าความต้านทานหรือโหลดตัวใดเกิดขาดหรือชำรุดเสียหายกระแสจะไม่สามารถ
ไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ ได้ ดังนั้นการต่อวิธีนี้จึงไม่ค่อยนิยมใช้กันทั่วไป จะมีใช้กันอยู่ในวงจรวิทยุ โทรทัศน์การ 
ต่อวงจรแบบนี้จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลไปทางเดียวและผ่านโหลดแต่ละตัวโดยลำดับ  ดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่า

      1.ความต้านทานรวมของวงจรเท่ากับค่าของตัวต้านทานย่อยทั้งหมดรวมกัน
      2. กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรเท่ากันตลอดหรือกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจุดแต่ละจุดในวงจร มีค่าเดียวกัน
      3. แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวรวมกันเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร